A Blogger by Beamcool

ความต่างระหว่างเกย์ไทยกับเกย์ฝรั่ง

Tuesday, June 2, 2009


ความต่างระหว่างเกย์ไทยกับเกย์ฝรั่ง ไม่เพียงแต่ สภาพความเป็นชุมชนเกย์ ที่มีลักษณะแตกต่างกับตะวันตก ความเข้าใ จ และทัศนคติ ที่เกย์มีต่อตนเอง ก็แตกต่าง ไป จากเกย์ตะวันตก มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ความเป็น เกย์ของเกย์ไทย ถูกกำหนดโดยโครงสร้างทาง วัฒนธรรม ที่เน้นบทบาททางเพศ ระหว่างชาย กับหญิงเป็นอย่างมาก ในสังคมตะวันตก โฮโมเซ็กช่วล หมายถึง บุคคลที่มีความโน้มเอียง ไปในทางชอบเพศ เดียวกัน ไบเซ็กช่วล หมายถึง บุคคลที่มีความ โน้มเอียงทางเพศต่อทั้งสองเพศ

ขณะที่ เฮกเตอโรเซ็กช่วล หมายถึง บุคคลที่ชอบเฉพาะเพศตรงข้าม ส่วนส่วนคำว่า เกย์ และ สเตรท มีนัยในเชิงวัฒนธรรมมากกว่า ดังนั้น "เกย์" จึงหมายถึงโฮโมเซ็กช่วล และ อาจรวมถึงไบเซ็กช่วล ที่ออกมาใช้ชีวิตอย่างเกย์ คือ เที่ยวเกย์คลับ และ ร่วมกิจกรรมกับชุมชนเกย์ ส่วน "สเตรท" ก็คือ คนทั่วไป ที่มีวัฒนธรรมทาง เพศอย่างตรงไปตรงมา ขณะที่สังคมไทย เวลาที่เราสงสัยว่าใครคนใด คนหนึ่งเป็นเกย์ เรามักจะมีภาพว่า เขาแอบชอบ เพศเดียวกัน และ มีความรู้สึกนึกคิดแบบผู้หญิง เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐาน ที่ควรจะเป็นของผู้ชาย ฉะนั้นโดยทั่วไป เกย์แปลว่าไม่ใช่ผู้ชายเต็มตัว ทว่าเมื่อเรามองให้ละเอียดขึ้น เราจะพบว่า การแบ่ง แยกเรื่องทางเพศในบ้านเรา สะท้อนค่านิยม กี่ยว กับบทบาททางเพศ ระหว่างหญิงกับชายเป็นอย่างมาก นอกจากคำว่า เกย์แล้ว

เราจะพบคำอื่นๆ เช่น กะเทย สาวประเภทสอง เกย์คิง เกย์ควีน คำว่า กะเทย เป็นศัพท์ดั้งเดิมในภาษาไทย แรกเริ่มหมายถึง บุคคลที่เมื่อดูที่กายภาพแล้ว ปรากฏทั้ง 2 เพศใน ตัวคนๆ เดียวกัน สังคมไทยดั้งเดิม ไม่มีมโนทัศน์เรื่อง เกย์ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า ความสัมพันธ์ทาง เพศระหว่างเพศเดียวกัน ไม่มีอยู่ในสังคมดั้งเดิม เพียงแต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายในอดีต ไม่ได้ทำให้เพศชายกลายเป็นเพศอื่น ในเชิงกายภาพ สังคมไทยดั้งเดิมจึงประกอบไปด้วย 3 เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง และเพศกะเทย ต่อมาคำว่า กะเทย ใช้ระบุ เพศชาย ที่มีบุคลิกกระเดียดไปในแบบ ผู้หญิง โดยเฉพาะ คนที่ชอบแต่งตัวคล้ายๆ กับผู้หญิง ซึ่งมักจะปรากฏว่า บุคคลเหล่านี้ ก็มักจะมี ความ สัมพันธ์ทางเพศกับเพศชาย ซึ่งหมายถึง เพศที่มีองคชาติโดยกำเนิด และ มีบุคลิกอย่างผู้ชาย คำถาม คือ เพศชายที่มีความสัมพันธ์กับเพศกะเทย หรือ มีความสัมพันธ์กันเองนั้น เป็นอีกเผ่าพันธุ์หนึ่งหรือ ไม่ สังคมไทยแต่เดิม ไม่มีแนวคิดในเรื่องนี้ การมีเพศ สัมพันธ์กับเพศเดียวกัน อาจถูกมองว่า เป็นเรื่องวิตถาร แต่ เพศชายก็ยังคงเป็นเพศชาย ไม่ใช่เกย์ ไม่ใช่กะเทย

เพราะเราไม่ได้มีมโนทัศน์เกี่ยวกับเกย์ ต่อมาเมื่อเราเอาคำว่า เกย์ มาใช้จากตะวันตก ก็เกิดความสับสน แต่เดิมวัฒนธรรมของเรา ไม่ได้ระบุตัวตน หรืออัตลักษณ์ โดยเอากิจกรรมทางเพศ หรือ วัตถุของ การร่วมเพศ มาเป็นเครื่องบ่งชี้ นอกเสียจาก ลักษณะที่เห็น ทางกายภาพ และ การกำหนดบทบาททางเพศ ที่มีอยู่สูง ระหว่าง ผู้หญิง กับ ผู้ชาย แต่นั่น ก็ไม่เกี่ยวกับ เรื่องของการร่วมเพศ ในช่วงแรกๆ ประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมา เมื่อเราเอาคำว่า เกย์มาใช้จากภาษาอังกฤษ ในช่วงแรกเกย์จึงถูกมองว่า เป็นกลุ่มเดียวกับกะเทย ดังนั้น เราจึงมีอีกคำ คือ เสือไบ หรือไบเซ็กช่วล ใช้เรียกเพศชาย ที่มีลักษณะผู้ชาย แต่ในบางโอกาส อาจสนใจเพศเดียวกัน ทั้งนี้ สังคมไทย ยังคงถือทัศนคติที่ว่า คนที่มีลักษณะ เ ป็นผู้ชาย ถึงอย่างไรก็ต้องชอบเพศหญิง เพราะเรา มีภาพเรื่องบทบาททางเพศ คอยกำกับ ต่อมา มีการสร้าง ศัพท์ขึ้น โดยขอยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้อีก คือ การแบ่งแยกระหว่างเกย์คิง กับเกย์ควีน

ที่มา : พีทนัท

0 comments:

Post a Comment