A Blogger by Beamcool

การเปิดเผยตัวตนว่าเป็นเกย์

Monday, June 22, 2009

“ถ้าเธอจะไป อย่าได้หันกลับมาเพราะไม่มีหนทางกลับไปในที่ที่เธอจากมา...”
(เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง “You Are Not Alone”)

COMING – OUT (การเปิดเผยตัวตนว่าเป็นเกย์)

แม้ การมีความรักในบุคคลเพศเดียวกันไม่ได้เป็นความป่วยไข้ หากเป็นความหลากหลายในความชอบทางเพศของมนุษย์ แต่การเปิดเผยตัวตนของตนเองต่อคนรอบข้าง หรือสาธารณชน ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละคน

สังคมของเกย์แต่ละคนเป็นเงื่อนไขของการตัดสินใจ มีเพียงเจ้าตัวเท่านั้นที่สามารถให้คำตอบกับตัวเองได้ว่า ตนควรเปิดเผยหรือไม่

สังคมในบ้าน - พ่อและแม่อาจจะรับรู้จากพฤติกรรมประจำวันของเรา รวมถึงความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบข้าง

เกย์ บางคนส่อแววตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่นั่นไม่สามารถทำให้พ่อแม่ปักใจเชื่อได้ว่าลูกเป็นเกย์หรือไม่ ต้องรอจนกระทั่งลูกโตเป็นหนุ่ม ถึงจะเห็นกับตาหรือฟังกับหูได้ว่า ลูกคบกับใคร หญิงหรือชาย ลักษณะความสัมพันธ์เป็นอย่างไร

บ่อยครั้ง เรามักพบว่า พ่อแม่ต้องการกีดกันผู้หญิงออกจากลูกชายของตนเนื่องจากเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา สมควรที่จะมีแฟน แต่กลับกลายเป็นว่า ลูกชายมีแต่เพื่อนชาย ทั้งที่อนุญาตให้มานอนค้างที่บ้าน หรือปล่อยให้ลูกไปค้างแรมกับเพื่อน

เราจะบอกพ่อแม่ได้ไหม และเมื่อไหร่ - คำถามนี้จะมีคำตอบเกิดขึ้นเองเมื่อถึงเวลา ถ้าหากเราอยู่ในบ้านอย่างอบอุ่น พ่อแม่ไม่ได้มีทัศนคติในทางลบกับเกย์ การเปิดเผยตัวต่อพ่อแม่คงไม่ใช่เรื่องจำเป็น อีกทั้งการแสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง หรือหลุดจากภาพ “ลูกที่น่ารัก” ก็คงไม่สมควรนัก

พ่อแม่สามารถเรียนรู้จักลูกชายที่เป็นเกย์ของตนได้ จากความใกล้ชิด ความสนิทสนม ความเป็นเกย์สามารถสังเกตได้จากอากัปกิริยา ภาษา เครื่องแต่งกาย และมุมมองความคิด ข้อควรปฎิบัติอย่างแรกและอย่างเดียวของพ่อแม่เมื่อรู้ว่าลูกของตนเป็นเกย์ก็ คือ ยอมรับ หลังจากนั้นให้ลืมคำถามประเภท “เป็นความผิดของใคร” ไปได้เลย

สังคมในที่ทำงาน – คำตอบลอยอยู่ในบรรยากาศรอบข้างของเจ้าตัวเช่นกัน หากควานหาไม่พบ ให้ลองถามตัวเองซ้ำครั้งว่า ความเป็นเกย์ของเรามีผลกระทบต่อหน้าที่การงานอย่างไรบ้าง เพื่อนร่วมงานมีทัศนคติหรือความรู้สึกอย่างไรต่อเกย์

ลองนึกภาพตัว เองเป็นสมาชิกคนหนึ่งในรัฐสภา ตราบถึงทุกวันนี้เรายังไม่เคยรับรู้ว่า มีเกย์ในรัฐสภาหรือไม่ หากเราเป็นหนึ่งในนั้น เราเองจะรู้สึกอย่างไร – แน่นอน ในความเป็นจริง ที่ทำงานเราไม่ใช่รัฐสภา แต่ถ้ามันคล้ายกันละก็ ให้ปิดปากนิ่งและทำงานไปเงียบๆ จะดีกว่า แล้วค่อยตัดสินใจอีกครั้งว่า จะทนอยู่ในความกดดันต่อไป หรือจะแสวงหาที่ทำงานใหม่

แต่หากบรรยากาศ ในที่ทำงานปลอดโปร่งและอบอุ่น ก็ควรปฎิบัติเหมือนกับสังคมที่บ้าน คือจิ๊จ๊ะให้พองาม เพราะหากเกินเลย พ่อแม่คงไม่ถือสาด่าว่า แต่คนที่ทำงานไม่แน่

อีกอย่างหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญคือ วัยวุฒิ – ตอนวัยกระเตาะเราคงยังอ้ำอึ้ง แม้จะแอบมองผู้ชายรุ่นพี่ หรือแอบทำปากเรื่อแดงในห้องเรียน แต่กาลเวลาสามารถทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ หากใครไม่ได้ใฝ่ฝันอยากเป็นผู้หญิงมาตั้งแต่เด็กๆ

เกย์ไม่ใช่ผู้หญิง แม้แต่เพื่อนผู้ชายโคตรแมนที่นั่งเก้าอี้ติดกับเรา เขาก็ไม่ได้ต่างจากเรา ยกเว้นความชื่นชอบในเพศรสเท่านั้น ดังนั้นจังไม่จำเป็นต้องใส่จริตหญิง เพราะนอกจากไม่ได้ทำให้ตนเองดูดีแล้ว
ยังได้ชื่อว่าเป็น “กะเทยหัวโปก”อีกต่างหาก

ที่มา : peter

0 comments:

Post a Comment