A Blogger by Beamcool

ประวัติของคลินิกชุมชนสีลม

Thursday, July 23, 2009

:: ประวัติของคลินิก ::

ผล การประเมินความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในปี พ.ศ. 2548 ที่จัดทำโดยศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐ ด้านสาธารณสุข สภากาชาดไทย และสมาคมฟ้าสีรุ้ง พบความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในกรุงเทพ มหานครอยู่ที่ร้อยละ 28.3 ความชุกนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจจากร้อยละ 17.3 ในปี พ.ศ. 2546 จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการดำเนินการลดการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชาย ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในกรุงเทพมหานครอย่างเร่งด่วน ทางศูนย์ฯ จึงได้จัดตั้ง คลินิกชุมชนสีลม ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ตรวจเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีและกามโรค โดยหวังที่จะเพิ่มระดับความตระหนักของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเรื่อง สถานะการติดเชื้อเอชไอวีและกามโรคของตน และรวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่อาจมี เป็นช่องทางการเข้าถึงการดูแลรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ และสนับสนุนการวิจัยและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีและกามโรค

:: ขอบเขตของการให้บริการ ::

คลินิก ชุมชนสีลมทำหน้าที่หลักในการเป็นจุดเริ่มในการยกระดับความตระหนักในเรื่อง สถานะการติดเชื้อเอชไอวีและกามโรค คลินิกชุมชนสีลมให้บริการแก่ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายทั้งหมด แต่มุ่งเน้นที่ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ไม่ต้องได้รับการรักษาดูแลพิเศษ สำหรับผู้ที่ต้องได้รับการรักษาดูแลพิเศษ ซึ่งได้แก่ ชาวต่างประเทศ ชายแปลงเพศเป็นหญิง ชายขายบริการทางเพศ และบุคคลที่มีอาการป่วยขั้นรุนแรง คลินิกชุมชนสีลมมีบริการส่งต่อให้กับคลินิกหรือโรงพยาบาลอื่นที่มีความพร้อม มากกว่า

:: บรรยากาศภายในคลินิก ::

คลินิกชุมชนสีลม ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน เปิดให้บริการทุกวันอังคาร - เสาร์ ตั้งแต่ 16.00 - 22.00 น. ลักษณะ ของคลินิกไม่มีสิ่งใดบ่งบอกว่าเป็นศูนย์ตรวจเชื้อเอชไอวีและกามโรค ไม่มีใครดูออกว่าคุณมาเข้ารับการตรวจเชื้อเอชไอวีและกามโรค นอกจากนี้คลินิกชุมชนสีลมยังได้รับการตกแต่งให้มีบรรยากาศแบบผ่อนคลายและ เป็นกันเอง พร้อมมีบริการอินเตอร์เน็ทให้โดยมีคิดค่าใช้จ่าย คุณจะไม่รู้สึกเหมือนอยู่ในคลินิกเลย

:: บุคคลากร::
ที่ คลินิกชุมชนสีลม เรามีผู้ให้การปรึกษา/พยาบาลวิชาชีพ 2 คน ผู้จัดการคลินิก 1 คน นักเทคนิคการแพทย์ 1 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล 1 คน คอยให้บริการคุณ นอกจากนี้เรายังมีนายแพทย์ประจำทุกวันศุกร์ เจ้าหน้าที่ของเรามีประสบการณ์และเข้าใจคุณและรูปแบบชีวิตของคุณ

:: ขั้นตอนการตรวจ ::

สำหรับ การตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชไอวี คุณสามารถเลือกการเจาะเลือดจากปลายนิ้วหรือจากข้อพับแขน ทั้งสองวิธีจะให้ผลการตรวจภายใน 30 นาที การเจาะเลือดจากปลายนิ้วจะใช้เลือดเพียง 1 หยด ในขณะที่การเจาะเลือดจากข้อพับแขนจะเจาะเอาเลือด 7 ซีซี หากแต่จะได้ตัวอย่างเลือดมากพอที่จะให้คุณเลือกการตรวจเพิ่มเติมได้ ได้แก่ กามโรค ไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี (ร่วมกับการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติมจากการตรวจลำคอ ปัสสาวะ และทวารหนัก) การสรุปผลการติดเชื้อเอชไอวีจะต้องผ่านการตรวจโดยชุดทดสอบ 3 ชุดที่มีวิธีการแตกต่างกัน ที่ให้ผล "บวก" เหมือนกันทั้ง 3 ชุด ในกรณีที่สรุปผลว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี เราจะเสนอให้ทำการตรวจสมรรถภาพของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อโรค (ตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิดซีดี 4)

:: ขั้นตอนการให้การปรึกษา ::

คลินิกชุมชนสีลมจะให้บริการปรึกษาทั้งก่อนและหลังการตรวจเสมอ เราให้บริการปรึกษาทั้งการลดความเสี่ยงและในเรื่องที่คุณต้องการปรึกษา

:: การเก็บความลับ ::

คลินิก ชุมชนสีลมให้บริการบนพื้นฐานของการเก็บเป็นความลับ และทุกบริการเป็นไปตามความสมัครใจของคุณ คุณจะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของคุณที่คลินิกและการเข้าถึงข้อมูลของคุณจะทำได้ ด้วยบัตรสมาชิกแบบบาร์โค้ดที่คุณถือเท่านั้น

:: ติดต่อกับคลินิก ::

คุณสามารถเข้าพบได้ทุกวันอังคาร - เสาร์ เวลา 16.00 - 22.00 น. โทรศัพท์ 0-2634-2917 หรือ e-mail: silom@tuc.or.th เพื่อนัดเวลา นอกจากนี้คุณยังสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกได้ที่ www.silomclinic.in.th

:: การเดินทางสู่คลินิก ::
คลินิก ชุมชนสีลม ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3 โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร คุณสามารถเดินทางสู่คลินิกได้ด้วย รถไฟฟ้าบีทีเอส (ลงที่สถานีศาลาแดง) รถไฟฟ้ามหานคร (ลงที่สถานีลุมพินี) และรถโดยสารประจำทางสายต่างๆ และนอกจากนี้เรายังมีบริการที่จอดรถไม่คิดค่าใช้จ่าย (จอด 2 ชั่วโมง)

:: ค่าบริการ (ไม่คิด) ::
การตรวจที่คลินิกจัดบริการให้และการรักษาเกือบทั้งหมด ไม่มีค่าใช้จ่าย!!! คลินิกชุมชนสีลมให้บริการเฉพาะแก่ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเท่านั้น

คลินิกชุมชนสีลม ชั้น 3 โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ถนนสีลม บางรัก กรุงเทพมหานคร เปิดบริการให้กับเฉพาะชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM)โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทุกวันอังคาร- เสาร์ เวลา 16.00 - 22.00 น.โทร 0-2634-2917 E-Mail: silom@tuc.or.th

0 comments:

Post a Comment